Incidence rate and related factors of occupational injuries among waste collectors of regional hospitals in the central zone

Authors

  • Pitchayaporn Poonnak Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
  • Soontorn Supapong Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
  • Thanapoom Rattananupong Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Keywords:

Occupational injury, Waste collector, Open wound, Infected wound, การบาดเจ็บจากการทำงาน, พนักงานเก็บขยะ, แผลเปิด, แผลติดเชื้อ

Abstract

Introduction: To study incidence rate and related factors of occupational injuries among waste collectors of regional hospitals in the central zone.

Method: The design of this study was cross-sectional descriptive study. Waste collectors of regional hospitals in the central zone were asked to complete questionnaires during January 1st - December 31st, 2015. Four hundred and ninety-eight waste collectors of 7 regional hospitals were included in this study. Data and related factors of occupational injuries showed by using independent t-test, Chi-square test and Fisher’s exact test.

Result: There were 76 cases of occupational injuries, the cumulative incidence and incidence rate were 15.3% and 1.37 / 100 case/persons-month. Feet and legs were the most incidence sites of occupational injuries. The mild injury of waste collectors (follow by ILO classification) were 73.6%,
Inflammatory wound were 6.5%. Other factors associated with occupational injuries were age (p-value = 0.049) increasing seniority (p-value = 0.005), duration of working month in 2015 (p-value = 0.006), not using of the personal protective equipment such as glove (p-value
= 0.016), boots (p-value = 0.018), face mask (p-value = 0.003), apron (p-value = 0.005) and performance series uniform (p-value = 0.002). The inadequate allocation of personal protective equipment (PPE) might be one of the key factor of injuries (p-value = 0.002).

Discussion and Conclusion: The incidence rate of occupational injuries was quite high. The result showed that giving priority to occupational health, waste collectors in this case, would be benefit to them and may minimize occupational injuries such as screening for health-related problem and prescribing adequate PPE.

บทนำ: เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคกลาง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนา โดยการสัมภาษณ์พนักงานเก็บขยะหรือพนักงานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละหน่วยงานให้ดูแลหรือมีหน้าที่คัดแยก เก็บรวบรวม เคลื่อนย้ายและกำจัดขยะของโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคกลาง ประกอบด้วยโรงพยาบาลราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี อยุธยา สระบุรี สมุทรปราการ ซึ่งทำงานตั้งแต่ ๑ เดือนขึ้นไป ในช่วงตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จำนวน ตัวอย่างที่ได้รับการคัดเข้าทั้งหมด ๔๙๘ ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย พิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานคือ independent t-test Chi-square test และ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา: พนักงานเก็บขยะบาดเจ็บจากการทำงาน จำนวน ๗๖ คน อุบัติการณ์การบาดเจ็บของพนักงานเก็บขยะ เท่ากับร้อยละ ๑๕.๓ และอัตราอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บของพนักงานเก็บขยะเท่ากับ ๑.๓๗ คน / ๑๐๐ คนต่อเดือนขาและเท้าเป็นอวัยวะที่เกิดการบาดเจ็บสูงที่สุด (ร้อยละ ๖๑.๘) สาเหตุของการได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากวัตถุสิ่งของกระแทกชน (ร้อยละ ๔๒.๑) ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บของพนักงานเก็บขยะ (ร้อยละ ๗๓.๖) ไม่ต้องหยุดงานสามารถทำงานได้ตามปกติ มีแผลอักเสบร้อยละ ๖.๕ ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ ได้แก่ อายุ (p-value = ๐.๐๔๙) ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (p-value = ๐.๐๐๕) ระยะเวลาการทำงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ (p-value = ๐.๐๐๖) การไม่ใช้ถุงมือ (p-value = ๐.๐๑๖) การไมใ่ ชร้ องเท้าบู๊ท (p-value = ๐.๐๑๘) การไมใ่ ชผ้ ้าปิดปากจมกู (p-value = ๐.๐๐๓) การไม่ใช่เอี้ยมผ้า/เอีย๊ มพลาสติกกันเปื้อน (p-value = ๐.๐๐๕) และการไม่ใช้เสื้อผ้าชุดปฏิบัติงาน (p-value = ๐.๐๐๒) การจัดสรรเครื่องมือป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ไม่เพียงพอ (p-value = ๐.๐๐๒)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: พนักงานเก็บขยะในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคกลางมีอัตราอุบัติการณ์การบาดเจ็บจากการทำงานค่อนข้างสูง มีความสัมพันธ์กับการจัดสรรและการไม่ใส่เครื่องมือป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการดูแลสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานกลุ่มนี้ เช่น การตรวจคัดกรองปัญหาทางสุขภาพและการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล อาจช่วยลดการเกิดการบาดเจ็บจากการทำงานได้

Downloads

Published

2017-06-13

Issue

Section

Original Articles