Factors associated with high medical cost occupational injuries

Authors

  • Pitchayaporn Poonnak Occupational and Environmental Medicine Center, Nopparat Rajathanee Hospital
  • Adul Bandhukul Occupational and Environmental Medicine Center, Nopparat Rajathanee Hospital
  • Aurapan Chaimanee Occupational and Environmental Medicine Center, Nopparat Rajathanee Hospital
  • Wiwat Ekburanawat Occupational Medicine Center, Samitivej Sriracha Hospital

Keywords:

Occupational injury, Medical cost, Compensation fund, Social security, การบาดเจ็บจากการทำงาน, ค่ารักษาพยาบาล, กองทุนเงินทดแทน, ประกันสังคม

Abstract

Introduction: Objective was to study factors associated with high medical cost occupational injuries.

Method: This cross-sectional analytic study gathered data from occupational injury files which reported to Pathum Thani Social Security Area Office during January 1st - December 31st, 2013. Analysis of high medical cost occupational injuries and related factors was done by Chi-square test.

Result: There were 330 cases in total, mainly were males (90.0%), age less than 45 years old (80.3%), working as production staffs (75.2%), and working more than 8 hours per day (97.3%). 248 cases (75.2%) were considered as high medical cost occupational injuries. Factors associated with high medical cost occupational injuries were duration of admission (p < 0.001), type of hospitals (p < 0.001), bone fractures (p = 0.003), and burn injuries (p = 0.007).

Discussion and Conclusion: High medical cost occupational injuries were associated with duration of admission, type of hospitals, bone fractures, and burn injuries. Prevention of bone fractures and burn injuries in workplaces may help to reduce high medical cost from occupational injuries.

บทนำ: วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีค่ารักษาพยาบาลสูง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ โดยนำข้อมูลของลูกจ้าง จากรายงานการประสบอันตรายจากการทำงานที่มีการรายงานไปที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดปทุมธานี ในช่วงตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ โดยใช้สถิติการทดสอบไคสแควร

ผลการศึกษา: กลุ่มศึกษาทั้งหมดมีจำนวน ๓๓๐ คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ ๙๐.๐) มีอายุน้อยกว่า ๔๕ ปี (ร้อยละ ๘๐.๓) ทำงานเป็นพนักงานฝ่ายผลิต (ร้อยละ ๗๕.๒) และทำงานมากกว่า ๘ ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ ๙๗.๓) ได้รับการพิจารณาว่าเป็นการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงจำนวน ๒๔๘ คน (ร้อยละ ๗๕.๒) ปัจจัยที่พบความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีค่ารักษาพยาบาลสูง ได้แก่ ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล (p < ๐.๐๐๑) ประเภทของโรงพยาบาลที่รักษา (p < ๐.๐๐๑) มีการบาดเจ็บกระดูกหัก (p = ๐.๐๐๓) และมีการบาดเจ็บไฟไหม้ (p = ๐.๐๐๗)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา:  การบาดเจ็บจากการทำงานที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล ประเภทของโรงพยาบาลที่รักษา มีการบาดเจ็บกระดูกหัก และมีการบาดเจ็บไฟไหม้ การหาวิธีป้องกันการบาดเจ็บกระดูกหักและการบาดเจ็บไฟไหม้ในสถานประกอบการ อาจช่วยลดการเกิดการบาดเจ็บจากการทำงานที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงได้

Downloads

Published

2016-09-30

Issue

Section

Original Articles