Prevalence and associated factors of smoking among workers in a university hospital in Thailand

Authors

  • Wittaya Pichetweerachai Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
  • Pornchai Sithisarankul Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
  • Sarunya Hengpraprom Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Keywords:

Smoking, Health care worker, การสูบบุหรี่, เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

Abstract

Introduction: Smoking is the principal risk factor of multiple diseases and cancers. Health care workers serve as role model and advisor for patients. However, previous studies found that the workers who smoke were less likely to advise patients to quit smoking. The objective of this study was to define prevalence and associated factors of smoking among workers in a university hospital in Thailand.

Method: The cross-sectional survey was performed by collecting questionnaire from workers in a university hospital in Thailand. Samples were selected by stratified sampling method. Population was stratified by divisions, occupation and sex respectively and then samples were selected by random sampling.

Result: The response rate was 62.3%. The prevalence rate of current smoker and ex-smoker were 6.1 (120 persons) and 7.3 (143 persons), respectively. Male, education level lower than bachelor degree, living with spouse and alcohol drinking were factors associated with smoking. Although most of current smokers were mild nicotine dependence, only one-third of them decided to quit smoking and more than half of them were never counseled or advised by health professional to quit smoking. Promoting factors for smoking cessation were family support, self-control, and bad attitude to tobacco.

Discussion and Conclusion: Despite low prevalence of smoking among workers in university hospital, they should be health model for people. To promote workers to be health model, the hospital should improve accessibility to smoking cessation clinic, screening and promote hospital’s smoking free policy.


บทนำ: การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคและมะเร็งหลายชนิด บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างที่ดี และแนะนำผู้สูบบุหรี่ให้เลิกสูบ อย่างไรก็ตาม การศึกษาก่อนหน้าพบว่า แพทย์และพยาบาลที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะไม่แนะนำให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบขนาดและการกระจายของปัญหาการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการสูบบุหรี่ของบุคลากรในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางด้วยการใช้แบบสอบถาม สำรวจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยจำแนกเป็นฝ่ายต่างๆ ตามโครงสร้างโรงพยาบาล ประเภทเจ้าหน้าที่ และเพศ ตามลำดับ

ผลการศึกษา: อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามคิดเป็นร้อยละ ๖๒.๓ ของทั้งหมด พบว่ามีผู้สูบบุหรี่จำนวน ๑๒๐ คน และมีผู้ที่เคยสูบบุหรี่ ๑๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๑ และ ๗.๓ ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ คือ เพศชาย ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี การอยู่กับคู่ครองทั้งที่สมรสกันหรือไม่ได้สมรสกันและการดื่มสุรา ส่วนใหญ่ของผู้สูบบุหรี่ติดนิโคตินในระดับน้อย แต่มีความต้องการเลิกบุหรี่เพียงประมาณร้อยละ ๓๐ และมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ที่สูบบุหรี่ไม่เคยได้รับคำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่ ปัจจัยที่ทำให้เลิกบุหรี่สำเร็จ คือ ครอบครัว การควบคุมตนเอง และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ถึงแม้สัดส่วนบุคลากรของโรงพยาบาลที่สูบบุหรี่จะอยู่ในระดับต่ำ แต่บุคลากรของโรงพยาบาลควรเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพให้แก่บุคคลทั่วไป ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ให้แก่บุคลากรที่สูบบุหรี่โดยการพัฒนาการเข้าถึงบริการคลินิกเลิกบุหรี่ การคัดกรองการสูบบุหรี่ และการรณรงค์เป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่

Downloads

Published

2016-09-30

Issue

Section

Original Articles