Characteristics and factors related to occupational injuries in farmers in Sankamphaeng district, Chiangmai, Thailand

Authors

  • Chutarat Chino
  • Wiroj Jiamjarasrangsri

Keywords:

Occupational injuries, Farmers, Work safety behaviors, การบาดเจ็บจากการทำงาน, ชาวนา, พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

Abstract

Introduction: The objectives of this study were to determine the incidence and characteristics of occupational injuries, work characteristics, and related factors of farmers in Sankamphaeng district, Chiangmai, Thailand.

Method: This was a cross-sectional descriptive study. The data collection was conducted during the period of October to December 2014 by interviewing of 4 main sets of questions and 1 set of farming observation and farmland survey. The total number of 440 subjects were selected by random sampling. The data were analyzed for descriptive statistics; frequency, percentage, rate, mean, median, mode, standard deviation and inferential statistics; Chi-square test, Independent t-test, and Binary logistic regression.

Result: Incidence of severe occupational injuries in the study population was 2.1 injuries per 100 person-years or 10 injuries per 1 million man-hours. Incidence of non-severe occupational injuries in the study population was 45.4 injuries per 100 person-years or 860.1 injuries per 1 million man-hours. Open wounds on ankles and below had the highest incidence. 27.6% of population reported not or occasionally use of personal protective equipment in which from the study showed that such factor was correlated to higher incidence of injuries in the study population. Furthermore, there were also correlations between work-related factors and work safety perception and behaviors with higher incidence of injuries in the study population.

Discussion and Conclusion: Lack of work safety behaviors or carelessness had highest correlation with higher incidence of injuries in the study population. Thus, related officials and the community should emphasize in work safety awareness and concern in order to lessen the incidence of occupational injuries and higher quality of life of the farmers.

Key words: Occupational injuries, Farmers, Work safety behaviors

 

การศึกษาลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของชาวนาอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
จุฑารัตน์ จิโน, วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

บทคัดย่อ

บทนำ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์และลักษณะของการบาดเจ็บจากการทำงาน ลักษณะสภาพหน้างานของชาวนาและความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของชาวนาในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม จนถึง ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยวิธีการสัมภาษณ์ชาวนาที่ได้รับการสุ่มเลือกทั้งหมด ๔๔๐ คน โดยใช้แบบสอบถามจำนวน ๔ ชุดร่วมกับการประเมินสภาพการทำงานโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำนาและสำรวจสภาพหน้างานของชาวนาจำนวน ๑ ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ อัตรา ค่าเฉลี่ยค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Independent t-test และ Binary logistic regression

ผลการศึกษา: อัตราอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บรุนแรงจากการทำนาของชาวนาเท่ากับ ๒.๑ ครั้งต่อ ๑๐๐ คนต่อปี คิดเป็น ๑๐ ครั้งต่อ ๑ ล้านชั่วโมงการทำงาน และอัตราอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บไม่รุนแรงจากการทำนาของชาวนาเท่ากับ ๔๕.๔ ครั้งต่อ ๑๐๐ คนต่อปี คิดเป็น ๘๖๐.๑ ครั้งต่อ ๑ ล้านชั่วโมงการทำงาน โดยการบาดเจ็บที่พบมากที่สุดคือบาดแผลเปิดที่ผิวหนังภายนอกบริเวณตั้งแต่ข้อเท้าลงไป ชาวนาร้อยละ ๒๗.๖ ให้ข้อมูลว่าไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทำนาหรือใช้เพียงบางครั้งเท่านั้น ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การไม่ใช้หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันเพียงบางครั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บจากการทำนาอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำนาล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยด้านการทำงาน การรับรู้และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานทั้งสิ้น

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำนามากที่สุดคือ พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนต้องทำให้เกิดการตระหนักรู้และสร้างให้เกิดจิตสำนึกและวินัยเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน อันจะนำไปสู่การลดลงของการบาดเจ็บจากการทำนาและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวนาในที่สุด

คำสำคัญ: การบาดเจ็บจากการทำงาน, ชาวนา, พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

Author Biographies

Chutarat Chino

Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Wiroj Jiamjarasrangsri

Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Downloads

Published

2015-06-30

Issue

Section

Original Articles